ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Incoterms 2010

            International Commercials Terms 2010
 มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554
Incoterms เป็นข้อกำหนดของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ที่กำหนดความหมายของคำเฉพาะทางการค้า (trade term) เพื่อใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายภายในได้ด้วย อินโคเทอมให้ความหมายและบ่งบอกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายผู้ซื้อใน การจัดส่งสินค้า ตลอดจนค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงภัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อขาย เพราะเพียงระบุเทอมของการซื้อขายตามอินโคเทอมไว้ในสัญญาซื้อขาย โดยไม่ต้องบรรยายรายละเอียดขั้นตอนความรับผิดชอบในการจัดส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยลงไว้ในสัญญาซื้อขาย ก็ถือว่าเป็นการตกลงที่เข้าใจและรับรู้กันว่าผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบอย่าง ไรในการจัดส่งสินค้า และต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าเพียงใด ถึงจุดใด ความเสี่ยงภัยต่อความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้าที่ซื้อขายกันจะโอนจาก ผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อใด โดยมีการนำเทอมตามอินโคเทอมไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายสินค้าบางประเภทกันมาก ทั่วโลก โดยเฉพาะ เทอม EXW (Ex Works) FOB  (Free On Board) CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and Freight) ที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง
การทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศของไทยส่วนมากจะนำอินโคเทอมมาใช้ แม้แต่การทำสัญญาซื้อขายในประเทศบางกรณีก็มีการอ้างอิงอินโคเทอมด้วย สำหรับการบังคับใช้อินโคเทอมตามกฎหมายไทยนั้น ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศและตกลงกันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นำ อินโคเทอมมาใช้บังคับ และเป็นกรณีที่ต้องระงับข้อพิพาทในศาลไทย หรือกรณีเป็นสัญญาซื้อขายในประเทศที่มีการอิงอินโคเทอม ศาลก็จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา

             หลังจากใช้ Incoterms 2000 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึง ปี พ.ศ. 2551 ทางหอการค้านานาชาติก็เริ่มพิจารณาแก้ไขปรับปรุง Incoterms 2000   เหตุผลที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงตามถ้อยแถลงของประธานหอการค้านานาชาติ ประการหนึ่งคือ มีการนำอินโคเทอมบางเทอมไปใช้อย่างผิดความหมาย มีการแปลความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดข้อพิพาทและมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น และตามเอกสารของหอการค้านานาชาติก็ได้ระบุถึงความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับข้อปฏิบัติทางการค้า เทคโนโลยี และการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย อินโคเทอมฉบับใหม่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสินค้า และการที่สหรัฐอเมริกาได้แก้ไขกฎหมายทางการค้าเมื่อ พ.ศ. 2547 ที่ได้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับเทอมการส่งสินค้า (US shipment and delivery terms) และให้สามารถรองรับเขตการค้าเสรี เช่นกรณีของสหภาพยุโรปด้วย        
Incoterms 2010 คือ มี 11 เทอม  2 กลุ่ม โดยแยกตามโหมดของการขนส่ง เป็นสองโหมด คือโหมดการขนส่งใดๆ ที่ไม่ใช่การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ซึ่งหากมีการขนส่งทางเรือก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขนส่งเท่านั้น และโหมดการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ

โหมดการขนส่งที่ไม่ใช่การขนส่งทางเรือ มีทั้งหมด 7 เทอม ประกอบด้วยเทอมเก่าคือ EXW (Ex Works), FAC (Free Carrier), CPT (Carriage Paid To), CIP (Carriage And Insurance Paid To), DAT (Delivered At Terminal ), DAP (Delivered At Place) และ  DDP (Delivered Duty  Unpaid) อีกโหมดหนึ่งคือการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ ประกอบด้วย 4 เทอมซึ่งเป็นเทอมที่คุ้นเคยกันทั่วไปคือ FAS (Free Alongside Ship), FOB (Free On Board), CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and  Freight)

สรุป INCOTERMS 2010 สิ่งสำคัญจะอยู่ตรงที่หน้ารับผิดชอบต่อสินค้า,ค่าใช้จ่ายและการขนส่ง ว่าใครจะรับผิดชอบในส่วนใหน ผู้ซื้อผู้ขายจะต้องทำความเข้าใจกับหน้าที่ความรับผิดของตนให้ดีว่าตนมีหน้าที่อะไร หรือมีค่าใช้จ่ายต้องจ่ายอะไรบ้าง


รอติดตาม 11 TERMS ในการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก....................................เร็วๆนี้............................

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

EX-W : EX- Works ( + the named place)

          EXW - EX- Works ( + the named place) เงื่อนไข ผู้ขาย จะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าที่ต้นทางที่หน้าโรงงานของ ผู้ขาย เอง เมื่อผู้ขายได้เตรียมสินค้าไว้พร้อมสำหรับส่งมอบให้กับ ผู้ซื้อ ณ สถานที่ของ ผู้ขาย เอง โดย ผู้ซื้อ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้า ไปยังคลังสินค้าของ ผู้ซื้อ เอง หรือ ผู้ซื้อ จะต้องดำเนินการเองทั้งหมดตั้งแต่การยกสินค้าขึ้นรถที่โรงงานของ ผู้ขาย เองและดำเนินการ จ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดจนถึงสถานที่ของ ผู้ซื้อ นั้นเอง เช่น EX-W Bangkok, Thailand                เงื่อนไขนี้เหมาะสำหรับผู้ซื้อ(ผู้นำเข้า) ที่นำเข้าสินค้าอยู่เป็นประจำ เพราะสามารถกำหนดระยะเวลาได้ดี และแก้ไขเหตุการณ์เมื่อมีปัญหาได้ดี          มีปัญหาลองถามมาดูนะครับ....การจะเป็นผู้นำเข้าส่ง-ส่งออก ไม่ยากขนาดนั้นนะครับ แต่เราต้องเข้าใจขั้นตอน พิธีการต่างๆ ให้ดี หรือสอบถามกับผู้รู้อย่าง FREIGHT FORWARDER เพื่อใช้บริการในการนำเข้า-ส่งออกก็สะดวกดีนะครับ............ต่อไปจะเป็น INCO TERMS อะไรต...

FCA: Free Carrier ( + the named point of departure)

FCA  - Free Carrier ( + the named point of departure)                          FCA: Free Carrier หมายถึง ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่งที่ผู้ซื้อได้กำหนดมา ณ สถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้ รวมถึงการผ่านพิธีการส่งออกด้วย จุดสำคัญ คือ สถานที่ส่งมอบสินค้านั้นมีผลในภาระของการบรรทุกสินค้าขึ้น และการนำสินค้าลง ณ สถานที่ดังกล่าว เพราะถ้าการส่งมอบเกิดขึ้นที่จุด สถานที่ฝ่ายผู้ขาย ตัวผู้ขายมีภาระรับผิดชอบในการนำสินค้าบรรทุกขึ้นยานพาหนะ แต่ถ้าการส่งมอบสินค้าเกิดที่จุดอื่นๆ ผู้ขายไม่ต้องรับภาระรับผิดชอบในการนำสินค้าลงจากยานพาหนะ เงื่อนไขนี้สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกประเภท รวมถึงการขนส่งหลายรูปแบบ   เช่น FCA Sea Land, Bangkok FCA: Free Carrier ( + the named point of departure)                      Carrier (ผู้รับขนส่ง) หมายถึงบุคคลในสัญญาการขนส่ง ที่รับหน้าที่ในการจัดการ จัดหา ดำเนินการขนส่ง ไม่ว่าจะทาง รถไฟ รถยนต์ ทะเล อากาศ แม่น้ำ บก หรือหลายทางรว...